47

การตรวจสอบคุณสมบัติของน้ำมันเพื่อทราบอายุของการใช้งานต้องกระทำทุก 30 หรือ 60 วันในช่วง 6 – 12 เดือนแรกกับน้ำมันที่เปลี่ยนใหม่หลังจากนั้นตรวจสอบทุก 6 เดือน การใช้วิธีตรวจสอบที่กล่าวแล้วจะมีประโยชน์ต่อผู้ใช้มาก เพื่อป้องกันความเสียหายเนื่องจากต้องหยุดเครื่องเทอร์ไบน์กระทันหันเพื่อ ซ่อมแซมหรือเปลี่ยนน้ำมันใหม่ เนื่องจากน้ำมันเทอร์ไบน์ของแต่ละชนิดมีคุณสมบัติแตกต่างกันไป ฉะนั้นในการพิจารณาเพื่อกาหนดวาระการเปลี่ยนน้ำมันใหม่หลังจากใช้งานแล้ว ผู้ผลิตน้ำมันดังกล่าวจะให้คาแนะนาแก่ผู้ใช้ได้เป็นอย่างดี การตรวจสอบน้ำมันเครื่องเทอร์ไบน์และการประเมินผลมีวิธีทาหลายวิธีดังต่อไป นี้

          1. ตรวจสอบคุณสมบัติไม่รวมกับอ๊อกซิเจน (Oxidation Stability) ใช้วิธี ASTM D-943 ที่กล่าวแล้ว เวลาใช้ต้องไม่น้อยกว่า 250-300 ชั่วโมง เมื่อค่าของความเป็นกรดเป็นด่างเท่ากับ 2.0 N.N. ถ้าเวลาน้อยกว่ากำหนดไว้แสดงว่าน้ำมันเสื่อมคุณภาพเพราะรวมตัวกับอ๊อกซิเจน มากเกินไป

          2. วัดค่าของความเป็นกรดเป็นด่าง (Neutralization Number) ค่าของความเป็นกรด (Total Acid Number) ไม่ควรเกิน 0.2-0.3 mgKOH/g ถ้าเกินกว่านี้แสดงว่าน้ำมันเสื่อมคุณภาพแล้ว สารเคมีถูกใช้หมดไปและน้ำมันรวมกับอ๊อกซิเจนมากเกินไป ถ้าค่าของความเป็นกรดถึง 0.4 mgKOH/g ต้องเปลี่ยนน้ำมันใหม่

          3. วัดความตึงผิว (Interfacial Tension (IFT)) ค่าของ IFT ที่ลดต่ำลงมาถึง 14-17 Dynes/Cm. หลังจากใช้งานมานานพอสมควร แสดงว่าน้ำมันมีสิ่งสกปรกเจือปนอยู่มากเกินจำนวนที่กำหนด ต้องนำมากรองทาให้บริสุทธิ์ใหม่ (Pureification)

          4. ทดสอบคุณสมบัติป้องกันสนิม (Rust Protective Properties) ตามวิธี ASTM D-665 ที่กล่าวแล้ว ถ้าพบว่าเป็นสนิมก็แสดงว่าสารเคมีป้องกันสนิมที่เคยมีอยู่ได้ถูกใช้หมดไป ปกติการตรวจน้ำมันที่ใช้แล้วจะทดสอบกับน้ำกลั่นเท่านั้น ส่วนน้ำทะเลนิยมใช้กับน้ำมันใหม่

          5. ทดสอบคุณสมบัติไล่อากาศ (Air Release Properties) ใช้วิธี DIN 51381 ที่อุณหภูมิ 25๐C หลังจากเป่าอากาศเข้าไปแล้วฟองอากาศต้องหนีไปภายใน 12 นาที

          6. ความหนืด (Viscosity) ตรวจสอบตามวิธี ASTM D-445 ที่กล่าวแล้ว ความหนืดที่เปลี่ยนไปปกติเป็นการเตือนให้ตรวจสอบคุณสมบัติอื่นซึ่งอาจผิด ปกติหรือเสียไป แต่โดยทั่วไปค่าของความหนืดไม่ควรเปลี่ยนมากหรือน้อยกว่า 10% จากของเดิม

          7. ปริมาณน้ำ (Water Content) ในกรณีที่น้ำไม่รั่วเข้าไปปนกับน้ำมันมากเกินไป หรือถ้าน้ำไม่ละลายในน้ำมันจนแยกไม่ออก เครื่องปั่น (Centrifuges) ก็สามารถรักษาปริมาณน้ำในน้ำมันไม่ให้เกิน 0.2% ได้ อนึ่ง น้ำที่แยกตัวและตกอยู่ก้นถังก็สามารถแยกออกโดยการถ่ายออก น้ำมันที่มีน้ำปนอยู่ถึง 0.5% ต้องเปลี่ยนน้ำมันใหม่

          8. ปริมาณสิ่งสกปรกที่ไม่ละลายในน้ำมัน ใช้วิธี ASTM D-893 ดังกล่าวแล้ว โดยเอาไปละลายในสารละลาย n-Pentane ปริมาณของสิ่งสกปรกที่เจือปนอยู่วัดได้ไม่ควรเกิน 0.2% หมายเหตุ การประเมินผลเพื่อทราบอายุการใช้งานของน้ำมันเครื่องเทอร์ไบน์ต้องพิจารณา จากผลทดสอบตามที่ระบุไว้ข้างต้นหลายประการร่วมกัน ไม่ควรพิจารณาจากผลทดสอบอันใดอันหนึ่งโดยเฉพาะ การเลือกทดสอบคุณสมบัติบางชนิดอาจกระทาได้ตามความเหมาะสมและความจำเป็น

About the Author

[top]
One Response to การพิจารณาเปลี่ยนถ่ายน้ำมันใหม่
  1. I read a lot of interesting articles here. Probably you spend a lot of
    time writing, i know how to save you a lot of time, there
    is an online tool that creates readable, google friendly articles in seconds, just type in google
    - laranitas free content source


[top]

Leave a Reply to Silke Cancel reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>