ในงานอุตสาหกรรมและงานก่อสร้างเครื่องจักรกลบางชนิดเป็นแบบขับเคลื่อนโดยกำลังดันลม เครื่องมือลมพวกนี้แบ่งตามลักษณะทำงานได้เป็น 3 ชนิด คือ
- เครื่องมือที่ทำงานแบบเคาะหรือทุบ เช่น ฆ้อน หรือปั้นจั่น
- เครื่องมือชนิดที่หมุน เช่น สว่าน เครื่องบดเจียร หรือปั๊ม
- เครื่องมือที่ใช้แรงกดดันคงที่ เช่น เครื่องมือยกของ หรือเครื่องมือที่ใช้จับยึดเกาะ
เครื่องมือบางอย่างมีลักษณะการทำงานของทั้ง 2 ชนิดดังกล่าวรวมกัน เช่น สว่านที่ใช้เจาะหิน เป็นเครื่องมือลมที่ทำงานโดยทั้งแบบเคาะ และหมุนในขณะเดียวกัน
การหล่อลื่นเครื่องมือเหล่านี้น้ำมันที่ใช้จะเป็นชนิดพิเศษ การหล่อลื่นด้วยมอเตอร์ แบริ่ง และเฟืองอาจจะแยกกัน (โดยใช้น้ำมันหรือจารบี) หรืออาจหล่อลื่น โดยน้ำมันตัวเดียวกันกับที่ใช้ในห้องอากาศ (Air Chambar) ชิ้นส่วนที่เคลื่อนไหวในห้องอากาศถูกหล่อลื่นโดยตัวหล่อลื่นน้ำมัน หรือโดยละอองน้ำมันที่อยู่ในอากาศที่ถูกอัด โดยระบบ Airline Lubricator หรือ Microfog Lubricator การเลือกน้ำมันหล่อลื่นในห้องอากาศจะขึ้นอยู่กับการออกแบบและการทำงานของเครื่องมือซึ่งต้องคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้
- .การขยายตัวของอากาศอย่างรวดเร็วภายในเครื่องมือ ทำให้อุณหภูมิลดต่ำลงอย่างมาก ดังนั้นน้ำมันที่ใช้จำเป็นต้องมีจุดไหลเทต่ำ ( Low Pour Point )
- ในทางตรงข้ามกับข้อ1 หยดน้ำมันในทางเดินของอากาศที่ถูกอัดจะมีอุณหภูมิสูง อันนี้เป็นสาเหตุที่ว่าน้ำมันที่ใช้ต้องสามารถต้านทานการทำปฏิกิริยากับอ็อกซิเจน ปฏิกิริยานี้ทำให้เนื้อน้ำมันแปรสภาพเป็นสารเหนียว)
- เนื่องจากอากาศหรือสารที่ถูกอัดมักจะมีความชื้นสูง โดยเฉพาะการทำงานใต้ดินซึ่งอาจมีความแตกต่างของอุณหภูมิอย่างมากระหว่างลมที่เครื่องอัดอากาศ (โดยปกติจะอยู่บนดิน) และลมที่ถูกส่งไปยังเครื่องมือที่ใช้ใต้ดิน ในกรณีนี้ความชื้นในอากาศดังกล่าวจะมีผลกระทบสองทางคือ จะเกิดการกัดกร่อนและการชะล้างน้ำมันหล่อลื่นออกไปจากผิวโลหะ ดังนั้นน้ำมันพวกนี้ต้องสามารถป้องกันการกัดกร่อนและรวมกัวกับน้ำได้ในบริเวณที่มีน้ำมาก
- เนื่องจากช่องว่างระหว่างผิวโลหะของเครื่องมือบางชนิดค่อนข้างแคบ น้ำมันหล่อลื่นต้องสามารถป้องกันการสึกหรอได้ดีด้วย ถ้าเครื่งอมือถูกใช้งานหนักมากต้องสามารถรับแรงกดสูงๆได้ด้วย เช่น งานเจาะหินซึ่งต้องใช้แรงเจาะเฉือนอย่างรุนแรง