ระบบไฮดรอลิกมีความสำคัญและมีการใช้อย่างแพร่หลายในงานอุตสาหกรรม ยานยนต์ และอุตสาหกรรมก่อสร้าง เนื่องจากระบบไฮดรลิกทำหน้าที่ในการถ่ายทอดพลังงานหรือกำลังงาน โดยการอัดแรงดันใส่ตัวกลางให้มีแรงดันสูง และนำแรงดันนั้นไปใช้ยังจุดที่ต้องการ ระบบไฮดรอลิกจะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพจำเป็นต้องอาศัยตัวกลางในการส่งกำลังหรือส่งแรงดันไปยังจุดที่ต้องการใช้กำลังนั้น ซึ่งตัวกลางในการส่งแรงที่ว่านี้ก็คือ “น้ำมันไฮดรอลิก” นั่นเอง หากจะให้กล่าวถึงการทำงานของระบบไฮดรอลิกอย่างง่าย ก็จะขออธิบายด้วยวงจรการเดินทางของน้ำมันไฮดรอลิกใน 1 วงรอบ ดังนี้ อ่างน้ำมัน ⇒⇒ Filter ⇒⇒ Pump ⇒⇒ Control Valve ⇒⇒ Hydraulic Cylinder ⇒⇔ Return line filter ⇒⇒ อ่างน้ำมัน จะเห็นได้ว่าจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดของวงจรเกิดที่ “อ่างน้ำมัน” โดยจุดนี้เป็นจุดพักที่น้ำมันจะทำการคลายความร้อนที่น้ำมันนำพาออกมาจากระบบไฮดรอลิก ในขณะเดียวกันอ่างน้ำมันยังเป็นจุดพักให้น้ำมันได้สลายฟองอากาศที่เกิดขึ้นจากการเคลื่อนที่อีกด้วย ซึ่งน้ำมันไฮดรอลิกที่มีอุณหภูมิต่ำลงและไม่มีฟองอากาศแล้วจะถูกดูดกลับเข้าสู่ระบบไฮดรอลิกต่อไป Filter และ Return line filter เพื่อให้น้ำมันไฮดรอลิกที่ถูกดูดไปใช้ในระบบมีความสะอาดปราศจากสิ่งปนเปื้อน จึงได้มีการติดตั้งตัวกรองหรือ..
read moreในงานอุตสาหกรรมและงานก่อสร้างเครื่องจักรกลบางชนิดเป็นแบบขับเคลื่อนโดยกำลังดันลม เครื่องมือลมพวกนี้แบ่งตามลักษณะทำงานได้เป็น 3 ชนิด คือ เครื่องมือที่ทำงานแบบเคาะหรือทุบ เช่น ฆ้อน หรือปั้นจั่น เครื่องมือชนิดที่หมุน เช่น สว่าน เครื่องบดเจียร หรือปั๊ม เครื่องมือที่ใช้แรงกดดันคงที่ เช่น เครื่องมือยกของ หรือเครื่องมือที่ใช้จับยึดเกาะ เครื่องมือบางอย่างมีลักษณะการทำงานของทั้ง 2 ชนิดดังกล่าวรวมกัน เช่น สว่านที่ใช้เจาะหิน เป็นเครื่องมือลมที่ทำงานโดยทั้งแบบเคาะ และหมุนในขณะเดียวกัน การหล่อลื่นเครื่องมือเหล่านี้น้ำมันที่ใช้จะเป็นชนิดพิเศษ การหล่อลื่นด้วยมอเตอร์ แบริ่ง และเฟืองอาจจะแยกกัน (โดยใช้น้ำมันหรือจารบี) หรืออาจหล่อลื่น โดยน้ำมันตัวเดียวกันกับที่ใช้ในห้องอากาศ (Air Chambar) ชิ้นส่วนที่เคลื่อนไหวในห้องอากาศถูกหล่อลื่นโดยตัวหล่อลื่นน้ำมัน หรือโดยละอองน้ำมันที่อยู่ในอากาศที่ถูกอัด โดยระบบ..
read more