ดังได้กล่าวแล้วว่าอายุการใช้งานของน้ำมันสำหรับถ่ายเทความร้อนจะขึ้นกับลักษณะการออกแบบระบบอุปกรณ์และการเอาใจใส่บำรุงรักษาในขณะใช้งานเป็นอันมาก ดังนั้นผู้ใช้จึงควรคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ ดังต่อไปนี้- 1. ขนาดของปั๊มจะต้องใหญ่พอที่จะสามารถถ่ายเทน้ำมันผ่านท่อในอุปกรณ์ให้ความร้อนกับน้ำมันในอัตราความเร็วผ่านผิวท่อระหว่าง 2 ถึง 3.5 เมตรต่อวินาทีในลักษณะเชี่ยวพล่าน (Turbulent) 2. เนื้อที่ของผิวท่อควรจะมากพอที่จะทำให้ปริมาณความร้อนที่ส่งผ่านผิวท่อต่อหนึ่งหน่วยพื้นที่ผิวไม่สูงเกินไป และสามารถรักษาอุณหภูมิของผิวท่อด้านสัมผัสน้ำมันไม่ให้เกิน 320๐C 3. ผนังฉนวนความร้อนของเตาอุปกรณ์ควรใช้อิฐทนไฟจำนวนน้อยที่สุดเพื่อหลีกเลี่ยงการคายความร้อนกลับจากอิฐทนไฟสู่น้ำมันในท่อในขณะดับไฟและหยุดปั๊มหรือปั๊มเสีย ซึ่งจะทำให้น้ำมันในส่วนที่ค้างอยู่ในท่อในเตาร้อนจัดจนแตกตัวเป็นเขม่าจับผิวท่อได้ หากใช้วัสดุฉนวนความร้อนประเภทไม่อมความร้อนจะดีที่สุด หากใช้เชื้อเพลิงเผาให้ความร้อนต้องระวังอย่าให้เปลวไฟชนผนังท่อน้ำมันเพื่อป้องกันผิวท่อมิให้ร้อนจัดจนเกิดอุณหภูมิที่น้ำมันจะคงตัวอยู่ได้ 4. อ่างพักน้ำมันสำหรับรับการขยายตัวของน้ำมันเมื่อน้ำมันร้อนขึ้นต้องใหญ่พอที่จะรับอัตราการขยายตัวของน้ามัน 20 % เมื่อเทียบกับปริมาตร ณ อุณหภูมิบรรยากาศปกติ อ่างพักนี้ควรตั้งอยู่ระดับสูงกว่าอุปกรณ์อื่นๆ ทั้งหมดในระบบถ่ายเทความร้อน และควรต่อเข้ากับระบบ ณ จุดทางดูดเข้าของปั๊มน้ำมันเพื่อเสริมแรงอัดน้ำมันเข้าสู่ปั๊ม ป้องกันการเกิดโพรงไอในเรือนปั๊ม (Cavitation) อันอาจทำให้ปั๊มเสียหายเร็วได้ 5. ควรออกแบบระบบท่อในลักษณะที่ป้องกันมิให้น้ำมันร้อนไหลผ่านอ่างพัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากช่องว่างเหนือระดับน้ำมันในอ่างพักเป็นอากาศ เพื่อป้องกันมิให้น้ำมันร้อนๆ สัมผัสกับอ๊อคซิเจนในอากาศตลอดเวลา ซึ่งจะทำให้น้ำมันเสื่อมสภาพเร็วขึ้น ในบางระบบที่พิถีพิถันช่องว่างเหนืออ่างพักจะบรรจุด้วยก๊าซเฉื่อย เช่น ไนโตรเจน เพื่อยืดอายุของน้ำมันถ่ายเทความร้อน ท่อที่ต่อเชื่อมระหว่างอ่างพักน้ำมันกับระบบควรมีขนาดเล็กและเปลือย เพื่อให้น้ำมันร้อนที่ขยายตัวผ่านท่อนี้เข้าสู่อ่างพักสามารถคายความร้อนสู่บรรยากาศ เป็นการลดอุณหภูมิของน้ำมันในอ่างพัก ซึ่งจะทำให้อายุการใช้งานของน้ำมันยาวนานขึ้น 6. ตามจุดหักโค้งและจุดสูงบางจุดในระบบท่อส่งน้ำมันหมุนเวียน ควรติดตั้งวาวล์และท่อสำหรับระบายไอหรืออากาศเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาเรื่อง Vapour Lock หรือ Air..
read moreน้ำมัน หล่อลื่นที่ใช้กันในปัจจุบันนี้ส่วนมากเป็นพวกน้ำมันแร่ (Mineral Oil) ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์จากการกลั่นน้ำมันดิบ พวกที่เป็นน้ำมันสังเคราะห์ (Synthetic Oil) ก็มีใช้อยู่บ้าง แต่เป็นจำนวนน้อยและใช้ในงานพิเศษๆ เท่านั้น ในที่นี้จะขอกล่าวเฉพาะการเสื่อมคุณภาพของน้ำมันหล่อลื่นชนิดน้ำมันแร่เท่า นั้น น้ำมันหล่อลื่นแต่ละชนิดได้ถูกผลิตขึ้นมาเพื่อให้มีคุณสมบัติและคุณภาพเหมาะ สมสำหรับงานหล่อลื่นแต่ละประเภท โดยการนาเอาน้ำมันพื้นฐานที่มีความหนืดพอเหมาะมาปรับปรุงคุณภาพด้วยการเติม สารเคมีเพิ่มคุณภาพ เพื่อให้คุณสมบัติพิเศษตามความต้องการ เช่น คุณสมบัติในการชะล้างป้องกันฟอง หรือรับแรงกด เป็นต้น เมื่อถูกใช้งานคุณสมบัติและคุณภาพของน้ำมันหล่อลื่นต้องสูญเสียหรือเสื่อม ถอยลงไปเรื่อยๆ จนในที่สุดไม่อยู่ในสภาพที่เหมาะสมกับการใช้งานอีกต่อไป ลักษณะการเสื่อมสภาพของน้ำมันหล่อลื่นสามารถจำแนกออกได้เป็น 3 ลักษณะใหญ่ๆ คือ 1. การเสื่อมสภาพของตัวเนื้อน้ำมันที่เกิดขึ้นจากปฏิกิริยาอ็อกซิเดชั่น 2. สารเพิ่มคุณภาพในน้ำมันถูกใช้หมดไป หรือเสื่อมสภาพไป 3...
read moreการสึกหรอ หมายถึงการต้องสูญเสียเนื้อสารจำนวนหนึ่งออกไปจากชิ้นวัตถุโดยไม่ปรารถนา สาเหตุของการสึกหลอมีหลายประการ และมักจะเกิดจากหลายสาเหตุพร้อม ๆ กัน การสึกหรอสามารถแบ่งได้ตามสาเหตุเป็น 4 ประเภทใหญ่ ๆ คือ 1. การสึกหรอแบบ Adhesive เกิดจากการที่ผิวโลหะมาเสียดสีกัน และยอดแหลมที่หลอมติดกันถูกกระแทกให้แตกหักอันเป็นขบวนการเกิดแรงเสียดทาน นั่นเอง น้ำมันหล่อลื่นป้องกันและลดการสึกหรอประเภทนี้โดยการทำหน้าที่ลดการสัมผัส กันระหว่างหน้าสัมผัสได้ อันเป็นการลดแรงเสียดทานไปในตัว การสึกหลอประเภทนี้มักเกิดจากการหยุดและไปของผิวหน้าสัมผัสก่อนที่ฟิล์มน้า มันจะเกิดขึ้นได้ หรือความล้มเหลวอื่น ๆ ของฟิล์มน้ำมันที่จะแยกหน้าสัมผัสออก 2. การสึกหรอแบบ Abrasive เกิดจากการที่มีชิ้นส่วนของแข็งขนาดเล็กหลุดเข้าไปในบริเวณผิวสัมผัส และครูดไถไปบนผิวหน้าที่อาจจะอ่อนกว่าชิ้นส่วนของแข็งนี้อาจจะเป็นสิ่งแปลก ปลอมจากภายนอก หรือเศษที่แตกหักมาจากการสึกหรอนั่นเอง ดังนั้นปัจจัยของการสึกหลอแบบ Abrasive คืออนุภาคของแข็งต้องมีขนาดใหญ่กว่าความหนาของฟิล์มน้ำมันและมีความแข็งกว่า ผิวหน้าสัมผัส น้ำมันหล่อลื่นสามารถทำหน้าที่ชะล้างหรือพัดพาเอาอนุภาคของแข็งที่เป็น อันตรายต่อผิวหน้านี้ไปได้ เป็นการลดการสึกหรอโดยที่อุปกรณ์ของระบบหล่อลื่น เช่นชีลและไส้กรอง มีส่วนสัมพันธ์กับหน้าที่นี้มาก ..
read moreการ วัดค่าความเป็นกรด (Total Acid Number – TAN)ในน้ำมันหล่อลื่นที่ใช้แล้ว ค่าความเป็นกรดที่วัดออกมาเป็นหน่วยมิลลิกรัมด่าง KOH/กรัมน้ำมัน เช่นเดียวกันกับค่าความด่าง แสดงถึงปริมาณของกรดทั้งหมดที่มีอยู่ในน้ำมันหล่อลื่นวัดได้ 2 วิธีคือ โดยวิธี ASTM D – 664 และ ASTM D-974 สาหรับน้ำมันหล่อลื่นไม่ว่าจะเป็นงานหล่อลื่นชนิดใดต้องไม่มีกรดแก่อยู่ใน น้ำมัน เพราะกรดแก่จะทำการกัดกร่อนโลหะทำให้เกิดความเสียหาย ตรวจหาค่าปริมาณกรดแก่ในน้ำมันโดยวิธี ASTM D – 664 หรือ ASTM D-974 เช่นกัน โดยแสดงค่าเป็น Strong Scid Number (SAN) สาหรับกรดอ่อนที่มีอยู่ในน้ำมันหล่อลื่นนั้นมาจากหลายแหล่งดังนี้ – ตัวน้ำมันหล่อลื่นพื้นฐาน ซึ่งมีสารพวก Oxygenated Hydrocarbon อยู่ จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับว่าผ่านขบวนการผลิตมาอย่างไร ปกติน้ำมันพื้นฐานที่ผ่านขบวนการผลิตอย่างดีจะมีค่าความเป็นกรดน้อยมากไม่ เกิน 0.05..
read moreการเย็นตัวของเหล็กชุบแข็งในของเหลว เมื่อจุ่มชิ้นเหล็กที่มีอุณหภูมิสูงเกินอุณหภูมิวิกฤติของเหล็กลงในอ่างของเหลว ชิ้นเหล็กนี้จะเย็นลงเรื่อย ๆ อุณหภูมิที่ผิวและแกนกลางของชิ้นเหล็กจะเย็นลงไม่เท่ากัน ลักษณะการระบายความร้อนหรือการเย็นตัวของชิ้นเหล็ก ณ ที่ผิวและแกนกลางในขณะที่ยังจุ่มอยู่ในของเหลวพอที่จะจำแนกออกได้เป็น 3 ขั้นตอนได้แก่ Vapour Blanket Stage , Boiling หรือ Vapour Transport Stage และ Liquid Cooling Stage Vapour Blanket Stage เมื่อจุ่มเหล็กที่ร้อนลงในของเหลวทันที สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือความร้อนในเนื้อเหล็กจะทำให้ของเหลวรอบ ๆ เนื้อเหล็กกลายเป็นไอทันทีทันใด ไอนี้จะห่อหุ้มชิ้นเหล็กไว้ การถ่ายเทความร้อนระหว่างชิ้นงานและของเหลวจะไม่ดีเลย เนื่องจากมีไอห่อหุ้มเป็นฉนวนอยู่ ไอนี้เป็นตัวนำความร้อนที่ต่ำมาก ในงานชุบแข็งเหล็กเราต้องการให้การถ่ายเทความร้อนในขั้นตอนนี้เป็นไปอย่าง เร็วที่สุดและสั้นที่สุด Vapour Transport Stage ขณะที่อุณหภูมิของชิ้นงานค่อยๆ เย็นลง เนื่องจากการระบายความร้อน ใน Vapour Blanket Stage อุณหภูมินี้จะเย็นลงถึงจุดๆหนึ่งที่ไอห่อหุ้มชิ้นเหล็กไม่อาจคงสภาพอยู่ได้ ของเหลวรอบๆ ชิ้นงานก็เข้าไปสัมผัสกับผิวนอกของเนื้อเหล็กเกิดการเดือดอย่างรุนแรง ความร้อนจำนวนมากจากเนื้อเหล็กจะถูกดึงออกไปเพื่อใช้ในการเดือดในรูปของความ ร้อนแฝง ฟองที่เกิดจากการเดือดจะช่วยปั่นกวนของเหลวทาให้การถ่ายเทความร้อนดีขึ้น อัตราการเย็นตัวของเนื้อเหล็กในขั้นตอนนี้จะมากและอย่างน้อยจะต้องเท่ากับ อัตราการเย็นตัววิกฤตของเหล็กนั้นๆ เพื่อให้แน่ใจว่าเนื้อเหล็กผิวนอกทั้งหมดจะถูกแปรสภาพให้อยู่ในโครงสร้างของ..
read moreการตรวจสอบคุณสมบัติของน้ำมันเพื่อทราบอายุของการใช้งานต้องกระทำทุก 30 หรือ 60 วันในช่วง 6 – 12 เดือนแรกกับน้ำมันที่เปลี่ยนใหม่หลังจากนั้นตรวจสอบทุก 6 เดือน การใช้วิธีตรวจสอบที่กล่าวแล้วจะมีประโยชน์ต่อผู้ใช้มาก เพื่อป้องกันความเสียหายเนื่องจากต้องหยุดเครื่องเทอร์ไบน์กระทันหันเพื่อ ซ่อมแซมหรือเปลี่ยนน้ำมันใหม่ เนื่องจากน้ำมันเทอร์ไบน์ของแต่ละชนิดมีคุณสมบัติแตกต่างกันไป ฉะนั้นในการพิจารณาเพื่อกาหนดวาระการเปลี่ยนน้ำมันใหม่หลังจากใช้งานแล้ว ผู้ผลิตน้ำมันดังกล่าวจะให้คาแนะนาแก่ผู้ใช้ได้เป็นอย่างดี การตรวจสอบน้ำมันเครื่องเทอร์ไบน์และการประเมินผลมีวิธีทาหลายวิธีดังต่อไป นี้ 1. ตรวจสอบคุณสมบัติไม่รวมกับอ๊อกซิเจน (Oxidation Stability) ใช้วิธี ASTM D-943 ที่กล่าวแล้ว เวลาใช้ต้องไม่น้อยกว่า 250-300 ชั่วโมง เมื่อค่าของความเป็นกรดเป็นด่างเท่ากับ 2.0 N.N. ถ้าเวลาน้อยกว่ากำหนดไว้แสดงว่าน้ำมันเสื่อมคุณภาพเพราะรวมตัวกับอ๊อกซิเจน มากเกินไป 2. วัดค่าของความเป็นกรดเป็นด่าง (Neutralization Number) ค่าของความเป็นกรด (Total Acid Number) ไม่ควรเกิน..
read moreเนื่อง จากน้ามันหล่อลื่นคอมเพรสเซอร์มีโอกาสเล็ดลอดปะปนไปกับน้ายา ดังนั้น ลักษณะการผสมตัวกันระหว่างน้ามันหล่อลื่นและน้ำยา จะมีผลต่อการพิจารณาคุณสมบัติของน้ำมันหล่อลื่นที่เรากำลังเลือก ลักษณะการผสมตัวกันระหว่างน้ามันหล่อลื่นและน้ำยาแบ่งได้เป็น3 ลักษณะคือ 1. น้ำมันหล่อลื่นและน้ำยาผสมตัวเข้าเป็นเนื้อเดียวกันได้อย่างสมบูรณ์เป็นสาร ละลาย (Completely Miscible) เช่น น้ำยา R12 ในกรณีนี้เกิดจุดไข (Floc Point) ของสารละลายจะเป็นตัวกำหนดการเลือกน้ำมันเพราะเมื่ออุณหภูมิของสารละลายลด ต่ำลงมากๆ จะเกิดการแยกตัวของผลึกไขออกจากสารละลาย และเมื่ออุณหภูมิยิ่งลดต่าลงไปอีก ผลึกไขจะรวมตัวกันมีขนาดใหญ่เป็นวุ้นขุ่นขาว ซึ่งสามารถอุดตันในวาล์วความดันและคอยล์เย็นได้ อุณหภูมิที่สารละลายเกิดเป็นวุ้นขุ่นขาวนี้เรียกว่า “จุดเกิดไข” น้ามันที่เลือกใช้ควรมีจุดเกิดไขต่ากว่าอุณหภูมิการเดือดระเหยของน้ำยา 2. น้ำมันหล่อลื่นและน้ำยาไม่ผสมตัวกันเลย (Completely Immiscible) เช่น น้ำยาแอมโมเนีย ในกรณีที่จุดไหลเท (Pour Point) ของน้ำมันเป็นตัวกำหนดการเลือกน้ำมัน เพราะเมื่ออุณหภูมิต่ำลงมากๆ น้ำมันซึ่งลอยแขวนตัวอยู่ในน้ำยาจะเริ่มข้นหนืดขึ้นจนไหลไม่ได้และแข็งตัวใน ที่สุด และสามารถเกาะอุดตันในวาล์วลดความดันและคอยล์เย็นได้ อุณหภูมิที่น้ำมันเริ่มไม่ไหลนี้เรียกว่า “จุดไหลเท” (Pour Point)..
read moreปัจจุบัน เห็นมีการโฆษณากันมาก เรื่องเครื่องเปลี่ยนถ่ายน้ามัน เกียร์อัตโนมัติ บอกว่าดีกว่าการเปลี่ยนถ่าย ในศูนย์บริการทั่วไป เพราะถ่ายได้หมดจดกว่ากัน แต่ราคามันแพง จึงอยากถามถึงความจาเป็น ในการถ่ายน้ามัน เกียร์อัตโนมัติ และหากจาเป็นควรใช้วิธีไหน เรื่องการเปลี่ยนถ่ายน้ามันเกียร์อัตโนมัตินั้น ผมขอเรียนให้ทราบก่อนว่า ระยะเวลาที่สมควร ทาการเปลี่ยนถ่าย แต่ละครั้ง ก็คือ ประมาณ 25,000 ถึง 35,000 กิโลเมตรแล้วแต่สภาพการใช้งาน และสภาพทางที่วิ่ง เช่นใช้งานในเมือง ที่การจราจรติดขัดมากๆ เกียร์มีการเปลี่ยนไปมาบ่อยๆ และมีความร้อนในน้ามันเกียร์มาก ก็ควรเปลี่ยนถ่ายที่ระยะทาง 25,000 กิโลเมตร หรือหากต้องวิ่งผ่านทางที่เป็นฝุ่นมากๆ หรือผ่านทางที่น้าท่วมขัง ก็ควรเปลี่ยนถ่ายที่ระยะทางไม่เกิน 25,000 กิโลเมตร เช่นเดียวกัน แต่หากผ่านทางที่น้าท่วมขังเกินกว่าครึ่งล้อ ก็ควรเปลี่ยนถ่ายน้ามันเกียร์อัตโนมัติทันที ที่ผ่านทาง น้าท่วมนั้นมาแล้ว แต่หากคุณใช้รถยนต์เกียร์อัตโนมัติ ในพื้นที่ซึ่งรถไม่ติด การจราจรปลอดโปร่ง เช่น ใช้ในจังหวัด ที่มีอากาศเย็น อย่างลำพูน หรือแพร่ คุณก็สามารถยืดระยะการเปลี่ยนถ่ายน้ามันเกียร์อัตโนมัติไปได้ถึง 35,000 กิโลเมตร แต่ทั้งนี้และทั้งนั้นหากคุณเป็นคนใช้รถยนต์น้อย ผมแนะนาว่าไม่ควรเกินสองปี ก็ควรเปลี่ยนน้ามัน..
read moreการ บำรุงรักษาเครื่องจักรอย่างสม่าเสมอในขณะใช้งาน การบารุงรักษาที่ถูกต้องในขณะใช้งานจะเป็นวิธีที่จะให้เครื่องจักรกลมีอายุ ยืนนาน และผลิตภัณฑ์หล่อลื่นที่ใช้มีอายุการใช้งานที่ยืนนานด้วยเพื่อความมั่นใจได้ ว่าเมื่อถึงกาหนดถ่ายเปลี่ยนแล้วผลิตภัณฑ์หล่อลื่นที่เปลี่ยนถ่ายออกมายัง อยู่ในสภาวะที่สามารถใหความคุ้มครองเครื่องจักรกลมิให้เกิดการสึกหรอในอัตรา ที่เกินปกติ แนวทางที่ควรยึดถือมีดังนี้ – ควรหมั่นสังเกตความเปลี่ยนแปลงของผลิตภัณฑ์หล่อลื่นในระบบในเรื่องสีระดับ อัตราการพร่องและสภาพ เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นตัวบ่งชี้ถึงปัญหาที่เกิดขึ้น เช่น หากสีน้ามันหล่อลื่นขุ่น แสดงว่ามีน้ารั่วไหลเข้ามาปะปน จะทาให้การหล่อลื่นลดประสิทธิภาพลงและอาจเกิดสนิมในเครื่องได้ อัตราการพร่องหากมากผิดปกติ แสดงว่ามีการรั่วซึมของระบบหล่อลื่น และหากมากขึ้นอาจเกิดการขาดน้ามัน ทาให้เครื่องจักรสึกหรอได้ – ควรถ่ายเปลี่ยนผลิตภัณฑ์หล่อลื่นตามกาหนดที่ผู้ผลิตเครื่องแนะนา และการถ่ายเปลี่ยนต้องมั่นใจว่าเติมถูกชนิด ในปริมาณที่พอดี ไม่มากไปหรือน้อยไป และมีการบันทึกเพื่ออ้างอิงต่อไป ต้องระมัดระวังมิให้เกิดการใช้ปะปนกับผลิตภัณฑ์หล่อลื่นเกรดอื่น – หม้อกรองน้ามันหล่อลื่น หม้อกรองอากาศ และหม้อกรองเชื้อเพลิง ต้องหมั่นล้างและเปลี่ยนตามกาหนดหรือเมื่อเสื่อมสภาพ – ควรหมั่นปรับแต่งเครื่องจักรกลให้ถูกต้องเสมอ..
read moreสำหรับเครื่องเทอร์ไบน์ใหม่หรือเครื่องที่ยกออกซ่อมแล้วมาติดตั้งใหม่จำเป็น ต้องล้างระบบหล่อลื่นภายในให้สะอาด ขจัดสิ่งสกปรกต่างๆ ซึ่่งได้แก่ น้ำ เศษผง เศษโลหะ เส้นใย เศษสนิมต่างๆ หรือแม้กระทั่งสารเคมีที่ใช้เคลือบภายในของเครื่อง เพื่อป้องกันสนิมขณะขนส่งหรือเก็บรักษาด้วย มีวิธีปฏิบัติดังนี้ 1. ตรวจสอบภายในระบบหล่อลื่นตาม Oil Pocket ซอก มุม และในอ่างเก็บน้ามันและทาความสะอาดให้ทั่ว สาหรับสารเคมีที่ทาป้องกันสนิมไว้ขณะขนส่งหรือเก็บรักษาควรเช็ดออกให้หมด ด้วยน้ามันทาละลาย (น้ามันก๊าด เป็นต้น) น้ามันล้างเครื่องที่จะใช้เติมลงไปในเครื่องเพื่อไล่สิ่งสกปรกต่างๆ ออกควรเป็นชนิดเดียวกับน้ามันเทอร์ไบน์ที่จะใช้เติมเครื่องเทอร์ไบน์ไอน้า สาเหตุที่แนะนาให้ใช้น้ามันชนิดเดียวกันเพราะการล้างขับไล่สิ่งสกปรกใน เครื่องซึ่งถ่ายออกไม่หมดและเหลืออยู่บ้าง ซึ่งจะไปปนกับน้ามันใหม่ที่จะเติมลงไปการใช้น้ามันใหม่ที่จะเติมลงไปการใช้ น้ามันเกรดต่าล้างเครื่องไม่ใช่เป็นวิธีประหยัดที่ถูกต้อง 2. การล้างไล่สิ่งสกปรก เมื่อเติมน้ามันล้างเครื่องลงไปแล้วก็ใช้ปั๊มให้น้ามันหมุนเวียนไปตามระบบ หล่อลื่นต่างๆ ของเครื่องเทอร์ไบน์ไอน้าโดยไม่ได้เดินเครื่องเทอร์ไบน์ หมายเหตุ ตามแบริ่งต่างๆ ควรต่อท่อข้ามแบริ่งเพื่อป้องกันเศษผง สิ่งสกปรกต่างๆ มาติดค้างที่แบริ่ง แต่ทุกครั้งก่อนใช้งานต้องทาความสะอาดแบริ่งเสียก่อนการอุ่นให้ร้อนเพื่อ เพิ่มประสิทธิภาพของการชะล้างสิ่งสกปรกต่างๆ น้ามันล้างเครื่องควรอุ่นให้ร้อนประมาณ 125 – 175๐F..
read more